Bnomics 101

Natural Monopoly ผู้ผูกขาดตามธรรมชาติ

Natural Monopoly คือ ธุรกิจที่มีต้นทุนคงที่สูง จนต้องเป็นผู้ผูกขาดเท่านั้นจึงจะทำกำไรได้…โดยต้นทุนคงที่สูงมากนี้ มักจะมาในรูปแบบเงินลงทุนตอนเริ่มธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องจักร อุปกรณ์ และการสร้างสิ่งจำเป็นสำหรับธุรกิจ ซึ่งเมื่อต้นทุนสูงมากจึงทำให้ต้องจำหน่ายของปริมาณมากๆ จึงจะสามารถหารายได้มาชดเชยต้นทุนคงที่ที่สูงนี้ได้ และมันก็มากถึงขั้นที่เขาต้องขายให้กับผู้ซื้อทุกคนที่อยู่ในตลาด แต่ถ้ามีคนเข้ามาแข่งขันในกลุ่มธุรกิจนี้ ก็จะทำให้เกิดการแข่งขันแย่งชิงส่วนแบ่งของตลาดกัน คนที่อยู่ในตลาดก่อนก็ขาดทุน ผู้ที่เข้ามาแข่งขันใหม่ก็ขาดทุน สุดท้ายก็จะเจ๊งด้วยกันทั้งคู่ เราจึงเรียกเขาว่าเป็น “ผู้ผูกขาดตามธรรมชาติ” หรือแปลว่า ด้วยลักษณะตามธรรมชาติของพวกเขาแล้วเกิดมาเป็นผู้ผูกขาด โดยตัวอย่างที่สำคัญของผู้ผูกขาดตามธรรมชาติ เช่น ...
Bnomics 101

Economies of Scale การประหยัดต่อขนาด

Economies of Scale หมายถึง การที่ต้นทุนโดยเฉลี่ยจะถูกลงเมื่อบริษัทผลิตได้ในปริมาณมากๆ ขึ้น เนื่องจากต้นทุนค่าใช้จ่ายในการผลิต และต้นทุนคงที่ทั้งหมดถูกเฉลี่ยไปกับสินค้าที่ผลิตขึ้นมาหลายๆ ชิ้น ยิ่งบริษัทมีขนาดใหญ่ ก็จะยิ่งประหยัดต้นทุนได้มากขึ้นด้วย จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมบริษัทใหญ่ๆ จะได้เปรียบในเรื่องของต้นทุนมากกว่าบริษัทขนาดเล็ก สาเหตุหลักๆ ที่ทำให้เกิด Economies of Scale เมื่อผลิตปริมาณมากๆ แรงงานเองก็สามารถแบ่งงานกับตามความชำนาญ และทำงานร่วมกับเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตได้ บริษัทขนาดใหญ่ อาจมีต้นทุนต่อหน่วยลดลงจากออเดอร์จำนวนมากจากซัพพลายเออร์, ...
Bnomics 101

The Personal Consumption Expenditures Price ตัวเลขวัดเงินเฟ้อที่สำคัญของ FED

The Personal Consumption Expenditures Price หรือ ที่เรารู้จักกันในชื่อ PCE  เป็นดัชนีที่ใช้วัดราคาของผู้คนที่อาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกาโดยคำนวณมาจากรายจ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล ซึ่งเป็นเงินจริงที่ผู้บริโภคใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการ โดยดัชนี PCE นี้จัดทำโดย Bureau of Economic Analysis  (BEA) ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของ PCE สามารถใช้ชี้วัดอัตราเงินเฟ้อ และยังสามารถสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคได้อีกด้วย เช่น ...
Bnomics 101

Econ Vocabs : Yield Curve Control

นโยบายควบคุมอัตราผลตอบแทนพันธบัตร ที่ไม่ได้ทำผ่านเครื่องมือปกติ ในการดำเนินนโยบายการเงินโดยธนาคารกลางนั้น หนึ่งในเครื่องมือที่สำคัญที่สุดก็คือ “ดอกเบี้ยนโยบาย” เพราะมันเป็นตัวกำหนดต้นทุนทางเศรษฐกิจต่างๆ อาทิ การกู้ยืม การฝากเงิน การลงทุนต่างๆ เป็นต้น อย่างไรก็ดี บางครั้งการกำหนดดอกเบี้ยนโยบายอย่างเดียวก็ยังไม่เพียงพอต่อการบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ ทำให้ธนาคารกลางต้องหาเครื่องมือพิเศษใหม่ๆ ขึ้นมา  สิ่งหนึ่งในนโยบายที่ถูกสร้างขึ้นมา เรียกว่า “Yield Curve Control (YCC)” Yield Curve ...
Bnomics 101

Econ Vocabs : Korea discount 

  Korea discount เป็นคำที่ถูกนิยมโดยนิตยสาร Forbe หมายถึงการที่นักลงทุนประเมินมูลค่าหุ้นของบริษัทของเกาหลีใต้ ต่ำกว่าบริษัทต่างชาติอื่นๆ ในระดับเดียวกัน สะท้อนผ่านการที่ Price-earning ratios ของหุ้นเกาหลีอยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด   ปัจจัยที่ทำให้เกิด Korea discount ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์อย่างรุนแรง ปัญหาเรื่องธรรมาภิบาล การบริหารกิจการของกลุ่มแชโบลที่มักจะสืบทอดกันภายในครอบครัวเพียงอย่างเดียว ปัญหาความขัดแย้งกับภาคแรงงาน ผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้นต่ำ พึ่งพาการเทรดกับต่างประเทศมากเกิน การลงทุนในพอร์ทของนักลงทุนต่างประเทศมีความผันผวนสูง ...
Bnomics 101

Econ Vocabs : Disinflation

  Disinflation คืออะไร ต่างจากเงินฝืดยังไง ? ถ้าพูดถึงคำว่า เงินเฟ้อ (Inflation) และเงินฝืด (Deflation) เราเชื่อว่าหลาย ๆ คนคงไม่สับสนกับคำ 2 คำนี้มากนัก เพราะ คำว่า เงินเฟ้อ (Inflation) ก็หมายถึง การที่เราเผชิญกับภาวะราคาสินค้าแพงขึ้น แต่มูลค่ากลับลดลง หรือ ...
Bnomics 101

Econ Vocabs : The Santa Claus Rally 

  ของขวัญในตลาดหุ้นจากซานต้ามีอยู่จริงหรือไม่?   ในช่วงเทศกาลคริสต์มาส มีหนึ่งปรากฎการณ์ในตลาดหุ้นที่สื่อต่างประเทศชื่นชอบนำมาเขียนข่าว โดยเปรียบเปรยสิ่งนี้ว่าเป็นดัง “ของขวัญในตลาดหุ้นจากซานต้าครอส”  เรียกกันว่า “The Santa Claus Rally”  หรือก็คือ ปรากฎการณ์ที่ตลาดหุ้นสหรัฐฯ จะมีการวิ่งขึ้นจนมีผลตอบแทนเป็นบวกในช่วงคริสต์มาส เป็นของขวัญให้กับนักลงทุนในช่วงท้ายปี  แต่คำถามที่ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ คือ “ปรากฎการณ์นี้เป็นเรื่องจริง หรือ เป็นแค่เรื่องที่สื่อแต่งขึ้น เพื่อขายข่าวเท่านั้น” และถ้ามันมีอยู่จริง ...
Bnomics 101

Econ Vocabs: Wage-Push Inflation

“Wage-Push Inflation” คือ การที่ราคาสินค้าและบริการโดยรวมสูงขึ้นเนื่องจากค่าแรงที่สูงขึ้น โดยมากจะเกิดขึ้นเมื่อรัฐบาลมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ  นอกจากกรณีที่รัฐบาลปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำแล้ว ยังอาจเกิดขึ้นได้จากการที่สหภาพแรงงานต่อรองให้มีการปรับขึ้นค่าแรง หรือในกรณีที่อุตสาหกรรมใหม่ๆ ปรับขึ้นค่าแรงเพื่อดึงดูดคนเก่งๆ ให้เข้ามาทำงาน อุตสาหกรรมอื่นๆ ก็อาจจะปรับขึ้นค่าแรงตามเพื่อแข่งขันกันดึงดูดคนเก่งๆ เช่นกัน  เมื่อค่าแรงสูงขึ้นทำให้ต้นทุนสูงขึ้น ธุรกิจต้องขึ้นราคาสินค้า ในขณะเดียวกัน เมื่อแรงงานมีเงินรายได้เพิ่มขึ้น ก็จะสามารถจับจ่ายใช้สอยได้มากขึ้น อุปสงค์ต่อสินค้าจึงเพิ่มขึ้น จึงทำให้ราคาสินค้าโดยรวมในตลาดสูงขึ้น ก่อให้เกิดเงินเฟ้อในที่สุด  เมื่อการขึ้นค่าแรง ส่งผลให้ราคาสินค้าโดยรวมสูงขึ้น ...
Bnomics 101

Misery Index ดัชนีวัดปัญหาทางเศรษฐกิจ จากความรู้สึกของมนุษย์

Misery Index เป็นดัชนีทางเศรษฐศาสตร์ที่คิดค้นโดย Arthur Okun นักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกัน ซึ่งดัชนีนี้ชี้วัดถึงความรู้สึกของผู้คนต่อปัญหาทางเศรษฐกิจ  โดยเป็นการวัดระดับความทุกข์ยากทางเศรษฐกิจที่ผู้คนทั่วไปรู้สึกได้ ซึ่งดัชนีนี้จะคำนวณจาก อัตราเงินเฟ้อประจำปี และ อัตราการว่างงาน (Misery Index = อัตราการว่างงานที่ปรับตามฤดูกาล + อัตราเงินเฟ้อประจำปี) Misery Index นี้ได้รับความนิยมอย่างมากในช่วง ทศวรรษที่ 1970 เนื่องจากโลกของเราเกิดเหตุการณ์ ...
Bnomics 101

Econ Vocab: Consumer Sentiment Index

Consumer Sentiment Index เป็นดัชนีที่ใช้ชี้วัดภาวะเศรษฐกิจของประเทศโดยอ้างอิงมาจากความรู้สึกของผู้บริโภค ซึ่งเป็นการวัดความรู้สึกของผู้บริโภคกับฐานะทางการเงิน โดยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคนี้ปรากฏเป็นสถิติทางเศรษฐกิจตั้งแต่ช่วงกลางศตวรรษที่ 20 และมีส่วนสำคัญต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะเรื่อยมา โดยในสหรัฐอเมริกา เศรษฐกิจในประเทศส่วนใหญ่ขับเคลื่อนมาจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคการใช้จ่ายของผู้บริโภคและคิดเป็นผลผลิตทางเศรษฐกิจถึง 70% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP)  ดังนั้น ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค (Consumer Sentiment Index) จึงเป็นส่วนสำคัญในการประเมินสภาพเศรษฐกิจ เพราะหากคนมั่นใจในเศรษฐกิจ ก็มีแนวโน้มที่จะจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น และกระตุ้นเศรษฐกิจ  ในทางตรงกันข้าม ...

Posts navigation