ตลาดรถยนต์ในอาเซียนคาดว่าจะมีมูลค่าสูงถึง 2,665.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีอัตราการเติบโต CAGR อยู่ที่ 32.73% ตลอดช่วงปี 2018-2027 จากผลกระทบของโควิด 19 กิจกรรมการผลิตต้องหยุดไปในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2020
แต่ตอนนี้อุตสาหกรรมยานยนต์กำลังฟื้นตัวจากความสูญเสียและผลิตสินค้าออกมาเพิ่มเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค โดยอุตสาหกรรมยานยนต์เติบโตอย่างมีนัยสำคัญในแง่ของการผลิตในปี 2021 ซึ่งมีแนวโน้มที่จะไปเพิ่มความต้องการรถยนต์ไฟฟ้าทั่วประเทศ
รัฐบาลจากหลากหลายประเทศทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่างออกนโยบายโปรโมทให้มีการหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า (EVs) กันมากขึ้น เช่น
- ประเทศไทยได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะให้มีการใช้รถยนต์ไฟฟ้า 30% ภายในปี 2030
- สิงคโปร์คาดว่ารถยนต์ทั้งหมดจะเป็นการใช้พลังงานสะอาด ภายในปี 2040
- อินโดนีเซียก็วางแผนไว้ว่า รถยนต์และรถจักรยายนต์ทั้งหมดจะเป็นรถ EVs ภายในปี 2050
จากการที่รัฐบาลให้ความสำคัญกับเป้าหมายรถยนต์พลังงานไฟฟ้า และกำหนดแผนการให้กับรถ EVs อย่างมั่นคง อนาคตของการขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็กำลังเข้ามาสู่จุดสนใจ
การตัดสินใจเลือกรถยนต์ไฟฟ้าแทนรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายใน (ICE) ได้รับอิทธิพลจากหลายปัจจัย เช่น การสนับสนุนด้านนโยบาย ต้นทุนด้านเทคโนโลยี ความเท่าเทียมกันของราคาระหว่างรถยนต์สันดาป และรถยนต์ไฟฟ้า รวมไปถึงความพยายามในการลดคาร์บอนระดับประเทศโดยรวม
มาตรการเชิงนโยบาย เช่น เงินอุดหนุนหรือสิ่งจูงใจทางการเงินอื่น ๆ สำหรับรถ EV หรือ การห้ามใช้รถยนต์สันดาป โดยสิ้นเชิง อาจส่งผลกระทบต่อขนาดของความต้องการพลังงานจาก EV รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าจะเป็นผู้นำในตลาด เช่น อินโดนีเซียและเวียดนาม ซึ่งมีสัดส่วนการใช้จักรยานยนต์มากกว่ารถยนต์โดยประเทศที่มีสัดส่วนการใช้รถจักรยานยนต์สูงกว่ารถยนต์มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนไปใช้รถยนต์ EVs ได้เร็วกว่า
นอกจากนี้ รถจักรยานยนต์ไฟฟ้ายังมีแบตเตอรี่ขนาดเล็กกว่าเมื่อเทียบกับรถยนต์ไฟฟ้า
ทำให้ชาร์จได้เร็วและสะดวกยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยลดปัญหาเรื่องราคาแบตเตอรี่ที่สูงเกินไปและระยะเวลาในการชาร์จของ EVs
ภาคการเติบโตของความต้องการของพลังงานรูปแบบใหม่ที่มีศักยภาพในการปรับรายละเอียดลักษณะการใช้ไฟฟ้า
EVs นำเสนอการคาดการณ์ของอุปสงค์ที่เกิดขึ้นใหม่ในภูมิภาคอาเซียนว่าจะสูงถึง 89 เทระวัตต์-ชั่วโมงภายในปี 2050 จากจำนวนเล็กน้อยในปัจจุบัน
ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน ส่วนแบ่งของรถยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาคนี้คาดว่าจะสูงถึงประมาณ 27% ภายในปี 2050 ตามนโยบาย S-Curve และความต้องการพลังงาน EV จะสูงขึ้นไปอีก
แม้ว่าตลาดต่าง ๆ เช่น สิงคโปร์และไทยจะมีอัตราการใช้ EV ที่สูงขึ้น
แต่ความต้องการพลังงาน EV ของอินโดนีเซียยังคงครองส่วนแบ่งที่ใหญ่ที่สุดในการคาดการณ์ เนื่องจากขนาดของตลาดและจำนวนประชากรที่ใช้รถอย่างแท้จริง
กราฟ 2: ความต้องการใช้พลังงานสำหรับรถไฟฟ้าในอาเซียนคาดว่าจะสูงถึง 89 เทระวัตต์-ชั่วโมง
ที่มา: S&P Global
สำหรับพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมคาดว่าจะสูงถึง 33% ของการผลิตทั้งหมดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายในปี 2050
References:
https://www.mordorintelligence.com/industry-reports/asean-electric-vehicle-market
Comments