Global Economics Update

เงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น กำลังบีบให้คนญี่ปุ่นเจ็บปวด 


หลังจากช่วงเวลาอันยาวนานของญี่ปุ่นที่รอคอยให้อัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น
บัดนี้ผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นกำลังประสบกับความเจ็บปวดจากภาวะเงินเฟ้อสูง

อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานกรุงโตเกียว ซึ่งเป็นมาตรวัดสำคัญสำหรับเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเป็น 4.0% จากปีก่อนหน้าในเดือนธันวาคม  ซึ่งมากกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้และสูงกว่าเป้าหมาย 2% ของธนาคารกลางเป็นเดือนที่ 7 ติดต่อกัน โดยอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในครั้งนี้ อาจเป็นหนึ่งปัจจัยให้ธนาคารกลางแห่งประเทศญี่ปุ่นปรับนโยบายอีกครั้ง

แม้ว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่นคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะใกล้ถึงจุดสูงสุดแล้ว แต่อัตราเร่งของเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น แสดงให้เห็นว่า เงินเฟ้อกำลังปรับตัวสูงขึ้นรวดเร็วเกินไป ทำให้ตลาด ต่างก็คาดการณ์ว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่น อาจเปลี่ยนแปลงนโยบายของธนาคารกลาง และอาจจะเพิ่มประมาณการเงินเฟ้อในการประชุม

ด้วยอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นทำให้ราคาบริการบางอย่างสูงขึ้น เช่น ค่าแท็กซี่ ทำให้บางส่วนยากที่จะเห็นด้วยอย่างเต็มที่กับข้อโต้แย้งของธนาคารกลางที่ว่าอัตราเงินเฟ้อเกิดขึ้นเนื่องจากต้นทุนการนำเข้าเป็นหลักเท่านั้น

Haruhiko Kuroda ผู้ว่าการธนาคารญี่ปุ่น หรือ BOJ ได้ตัดความเป็นไปได้ที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเร็ว ๆ นี้ โดยเชื่อว่าธนาคารกลางจะกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไป จนกว่าอัตราเงินเฟ้อที่มาจากฝั่งต้นทุนจะเปลี่ยนเป็นเงินเฟ้อที่มาจากฝั่งผู้บริโภคพร้อมกับค่าจ้างที่สูงขึ้น

นอกจากนี้ก็ยังไม่มีความชัดเจนจากฝั่งภาคธุรกิจของญี่ปุ่น ว่าจะขึ้นค่าจ้างให้สูงพอที่จะเยียวยาความเจ็บปวดจากค่าครองชีพที่สูงขึ้นหรือไม่

 

ญี่ปุ่นเผชิญวิกฤติค่าครองชีพ

อัตราเงินเฟ้อราคาผู้บริโภคหลักของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นเป็น 3.7% ในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 1982 อย่างไรก็ตาม ความตั้งใจของรัฐบาลที่จะเพิ่มอัตราเงินเฟ้อสร้างความเจ็บปวดให้กับผู้บริโภคที่ได้รับผลกระทบจากราคาที่สูงขึ้นแต่ค่าแรงเพิ่มตามไม่ทัน

จากการสำรวจของธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น มากกว่าครึ่งหนึ่งของครัวเรือนญี่ปุ่นระบุว่าสถานการณ์ทางการเงินของพวกเขาแย่ลง ซึ่งเป็นสัญญาณที่ชัดเจนว่าความเชื่อมั่นของผู้คนกำลังถูกบั่นทอนโดยอัตราเงินเฟ้อสูงสุดของประเทศในรอบ 40 ปี

จากการสำรวจของธนาคารกลางญี่ปุ่นแบบรายไตรมาส พบว่ากว่า 53% ของครัวเรือนระบุว่าสถานการณ์ทางการเงินของพวกเขาแย่ลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ซึ่งเป็นเปอร์เซ็นต์ที่ผู้คนตอบว่ารู้สึกสถานการณ์ทางการเงินแย่ลงมากที่สุดในรอบกว่า 13 ปี โดยมีเพียง 3.7% ของผู้ตอบแบบสอบถามที่รู้สึกว่าสิ่งต่าง ๆ ดีขึ้น ขณะที่ 42.4% บอกว่ายากที่จะบอก


ผลการศึกษายังชี้ให้เห็นอีกว่าเมื่ออัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 
ผู้บริโภคจะระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้นเนื่องจากค่าแรงของพวกเขาเพิ่มขึ้นตามไม่ทันซึ่งการระมัดระวังทางการใช้จ่ายดังกล่าว จะทำให้เป้าหมายเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นจากฝั่งผู้บริโภคของธนาคารกลางญี่ปุ่นบรรลุความสำเร็จได้ยากขึ้น

และอีกหนึ่งผลสำรวจพบว่า ราว ๆ 68.3% ของผู้ตอบแบบสอบถามกล่าวว่าพวกเขาจะพิจารณาเรื่องเงินเฟ้อเป็นประเด็นสำคัญเมื่อวางแผนการใช้จ่าย และข้อมูลทางเศรษฐกิจล่าสุดแสดงให้เห็นถึงอัตราเงินเฟ้อเริ่มส่งผลกระทบต่อผู้คน

เนื่องจากบริษัทต่าง ๆ ส่งต่อต้นทุนที่สูงขึ้นไปยังผู้บริโภคจากการสำรวจล่าสุดของธนาคารกลางญี่ปุ่น ครัวเรือนคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มเป็น 2 เท่าที่ 10% ซึ่งเป็นอัตราที่สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ ในช่วง 12 เดือนข้างหน้า 

นั่นแสดงให้เห็นว่าผู้คนกำลังให้ความสำคัญกับการที่ราคาสินค้าต่าง ๆ แพงขึ้นอย่างจริงจังจนถึงขณะนี้ ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (BOJ) ยังคงดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ 

แต่เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา สร้างความประหลาดใจให้กับตลาดด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี จาก 0.25% เป็น 0.5% เป็นผลให้สกุลเงินของญี่ปุ่นพุ่งสูงขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ โดยแตะ 151 เยนต่อดอลลาร์เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 1990

 


 

Bangkok Bank Post ฉบับวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2566

ดาวน์โหลดไฟล์ใหญ่

 


References :

https://www.japantimes.co.jp/news/2023/01/10/business/economy-business/tokyo-inflation-price-trend/

https://www.reuters.com/markets/asia/consumer-inflation-japans-capital-exceeds-boj-target-7th-month-2023-01-09/

https://www.bbc.com/news/business-64072866

https://www.bloomberg.com/news/articles/2023-01-11/japanese-feel-the-worst-off-since-2010-as-inflation-bites?utm_content=markets&utm_campaign=socialflow-organic&cmpid%3D=socialflow-twitter-markets&utm_medium=social&utm_source=twitter

 

Charles & Keith แบรนด์แฟชั่นชื่อดังสัญชาติสิงคโปร์

Previous article

‘อมตะ’ เล็งขยายนิคมฯ เพิ่มใน ‘เวียดนาม’

Next article

Comments

Leave a reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *