ในปี 2566 เศรษฐกิจโลกจะเผชิญกับแรงกดดันทั้งจากราคาพลังงาน อัตราเงินเฟ้อที่สูง และสงครามที่ยังไม่จบไม่สิ้น จากการคาดการณ์ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ในเดือนตุลาคม พบว่า การเติบโตของเศรษฐกิจโลกจะหดตัวจาก 3.2% ในปี 2022 เป็น 2.7% ในปี 2023 และยังมีโอกาสที่การเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลกจะลดลงต่ำกว่า 2% ในปีหน้า เนื่องจากผลกระทบต่อเนื่องของสงครามในยูเครนและเศรษฐกิจชะลอตัวในมหาอำนาจอย่างในยุโรป จีน และสหรัฐอเมริกา
อัตราดอกเบี้ย จะยังคงเพิ่มขึ้น
เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อแตะระดับสูงสุดในรอบหลายทศวรรษในหลายประเทศ ทำให้ผู้คนต้องต่อสู้กับวิกฤติค่าครองชีพ เนื่องจากค่าจ้างที่ได้รับไม่สอดคล้องกับอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ครัวเรือนต้องตัดสินใจเลือกใช้จ่ายอย่างยากลำบาก
ขณะนี้ อัตราเงินเฟ้อได้เริ่มชะลอตัวลงในสหรัฐอเมริกาและยูโรโซน แต่ก็ยังไม่เพียงพอสหรัฐอเมริกาที่ได้ประสบกับภาวะเงินเฟ้อในระดับสูงสุดในรอบ 40 ปี โดยมีอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ราว ๆ 6% ต่อปี
โดยทางธนาคารกลางสหรัฐจำเป็นต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยหลายครั้ง เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในแต่ละครั้งได้ไปเพิ่มแรงกดดันให้กับกิจกรรมทางธุรกิจและการใช้จ่ายของผู้บริโภค
แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อในสหรัฐฯ จะชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง แต่ประธาน FED กล่าวว่ายังคงขึ้นอัตราดอกเบี้ยและพยายามทำให้อัตราเงินเฟ้อลงมาที่อัตรา 2% ต่อปี เพราะเขาเชื่อว่าอัตรา 2% นั้นเหมาะสมและเป็นเป้าหมายในระยะยาว
แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อในยูโรโซนอาจแตะระดับสูงสุดและมีแนวโน้มที่จะลดลงอย่างช้า ๆ แต่ก็อาจใช้เวลาหลายปีกว่าจะกลับไปสู่เป้าหมายที่ 2% ของ ECB ซึ่งจะกดดันธนาคารกลางให้ใช้นโบายการเงินแบบเข้มงวดต่อไปในอนาคต
การเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยและความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจนี้ ส่งผลให้ต้นทุนทางธุรกิจสูงขึ้นและกระทบต่อการจ้างงาน ตัวอย่างเช่น คนเกือบ 600,000 คนในสหราชอาณาจักรได้ออกจากไปตลาดงาน หรืออย่างในสหรัฐอเมริกา อุตสาหกรรมเทคโนโลยีได้เห็นการปลดพนักงานจำนวนมากในปี 2022 นี้ เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน เช่น Amazon วางแผนที่จะเลิกจ้างพนักงานถึง 20,000 คน
เศรษฐกิจเอเชียอาจซบเซาแต่ก็ไม่นาน
อัตราการเติบโตของ GDP ชะลอตัวลงอย่างมากในทุกประเทศในทวีปเอเชีย สิงคโปร์เผชิญกับการเติบโตที่คาดการณ์ไว้ช้าที่สุดที่ 0.7% นอกจากนี้และยังเป็นประเทศเดียวที่ประสบกับภาวะการเติบโตที่ลดลงในช่วงเวลา 3 ปีนับตั้งแต่ปี 2021
การผลิตเพื่อการส่งออกของเอเชียคาดว่าจะลดลงในปี 2023 เกาหลีใต้และไต้หวันคาดว่ามูลค่าการเติบโตของการส่งออกสินค้าจะลดลงอย่างรวดเร็วถึง 40%
ในขณะที่การส่งออกในกลุ่มประเทศอาเซียนจะลดลงที่ 20% อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจเอเชียก็ยังมีโอกาสเติบโตที่สดใสรอคอยอยู่ โดยหนึ่งในแรงขับเคลื่อนหลักของการเติบโตทางเศรษฐกิจเอเชีย คือ การท่องเที่ยว ซึ่งคาดว่าจะฟื้นตัวหลังจากการแพร่ระบาดของ โควิด 19
เมื่อเปรียบเทียบช่วงเวลาก่อนเกิดโรคระบาด พบว่า ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงอย่างมากตั้งแต่ปี 2019 อย่างไรก็ตาม การท่องเที่ยวในภูมิภาคนี้กำลังฟื้นตัว และคาดว่านักท่องเที่ยวที่หายไปจะลดลงเหลือต่ำกว่า 20% ในปี 2024 เมื่อเทียบกับก่อนที่จะมีการแพร่ะบาด
อย่างไรก็ตาม ยังมีความกังวลว่าการท่องเที่ยวคาดว่าจะชะลอตัวลงในปี 2023 ในด้านการขยายตัวของเศรษฐกิจอาเซียนมีสาเหตุหลักมาจากกลยุทธ์ Plus One ของจีน ซึ่งเป็นกลยุทธ์ในเรื่องของการกระจายการลงทุนทางธุรกิจและสร้างระบบนิเวศของห่วงโซ่อุปทาน
นอกจากนี้ อินโดนีเซียยังเร่งพัฒนาประเทศให้ทัดเทียมกับชาติอื่น ๆ การเติบโตของมาเลเซีย จะมาจากระบบซัปพลายเชนที่ดี และ การฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ ในขณะที่เวียดนาม ก็จะยังคงได้รับผลประโยชน์จากการเป็นฐานการผลิตให้กับประเทศต่าง ๆ จากการเติบโตเหล่านี้ จะส่งผลให้ในปีต่อ ๆ ไป เศรษฐกิจอาเซียนคาดว่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง
References:
https://www.reuters.com/markets/imf-chief-sees-higher-chance-global-growth-below-2-2023-2022-12-01/
https://www.voanews.com/a/world-economic-outlook-for-2023-increasingly-gloomy-/6850942.html
Comments