Bnomics 101

Econ Vocabs : Disinflation

 

Disinflation คืออะไร ต่างจากเงินฝืดยังไง ?

ถ้าพูดถึงคำว่า เงินเฟ้อ (Inflation) และเงินฝืด (Deflation) เราเชื่อว่าหลาย ๆ คนคงไม่สับสนกับคำ 2 คำนี้มากนัก เพราะ คำว่า เงินเฟ้อ (Inflation) ก็หมายถึง การที่เราเผชิญกับภาวะราคาสินค้าแพงขึ้น แต่มูลค่ากลับลดลง หรือ จะให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ เมื่อ 5 ปีก่อน เราเคยกำเงินไป 35 บาทเพื่อซื้อข้าวผัดกะเพรา 1 จาน แต่ตอนนี้เราต้องใช้เงินมากกว่า 35 บาทเพื่อซื้อข้าวผัดกะเพรา 1 จาน เพราะว่าเงินในปัจจุบันมูลค่ามันลดลง โดยเราจะวัดภาวะเงินเฟ้อได้จาก ดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index or CPI) นั่นเอง

ซึ่งตัวอย่างของเงินเฟ้อที่เห็นได้ชัดเลยก็คือเมื่อตอนปี 2022 ที่ผ่านมา ที่หลาย ๆ ประเทศต้องเผชิญกับอัตราเงินเฟ้อสูงสุดเป็นประวัติการณ์ อย่างในสหราชอาณาจักรเองก็เผชิญกับอัตราเงินเฟ้อสูงสุดในรอบ 40 ปี ส่งผลให้ประชาชนต้องใช้เงินเพิ่มจำนวนมากในการจ่ายค่าสินค้าและบริการที่ตัวเองเคยใช้อยู่ทุกวัน เช่น บิลค่าไฟในสหราชอาณาจักรเพิ่มขึ้นมาจากตอนปกติถึง 54% เลยทีเดียว

ในขณะที่เงินฝืด (Deflation) ก็จะตรงข้ามกับภาวะเงินเฟ้อ นั่นคือ การที่ระดับราคาของสินค้าและบริการลดลงอย่างต่อเนื่องจน ตัวเลขของอัตราเงินเฟ้อต่ำกว่า 0% หรือ อัตราเงินเฟ้อติดลบ 

 

แล้ว Disinflation ล่ะ คืออะไร ?

Disinflation ก็คือ การที่อัตราเงินเฟ้อค่อย ๆ ชะลอตัวลง เช่น ในเดือน ตุลาคมอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 8% แต่เดือนพฤศจิกายน อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 6% จะเห็นได้ว่าอัตราเงินเฟ้อยังคงเพิ่มขึ้น แต่เพิ่มในอัตราที่ลดลง

ซึ่งในปี 2023 นี้ เราอาจจะได้เห็นเงินเฟ้อทั่วโลก และ เงินเฟ้อในหลาย ๆ ประเทศ เผชิญกับภาวะ Disinflation หรือ การที่เงินเฟ้อจะค่อย ๆ ลดลงกลับคืนสู่เป้าหมายของธนาคารกลาง

 

Bnomics Admin

ย้อนรอย “Y2K” วิกฤตปี 2000 ที่ทำให้ทั้งโลกแตกตื่น

Previous article

ฟินเทค ‘ลาว’ หวังภาคธนาคารช่วยหนุน

Next article

Comments

Leave a reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *